แบบทดสอบ ชุดที่ 1


แบบทดสอบพระพุทธศานาระดับชั้นม.1
คำชี้แจง  ข้อสอบมีทั้งหมด ๗๐ ข้อ (๗๐ คะแนน)                            
ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว
๑.            ข้อใดแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของพระเจ้ากาฬาโศกที่มีต่อพระพุทธศาสนา
            ก.            เป็นผู้อุปถัมภ์ในการทำสังคายนาครั้งที่ ๑          
            ข.            เป็นผู้อุปถัมภ์ในการทำสังคายนาครั้งที่ ๒
            ค.            เป็นผู้อุปถัมภ์ในการทำสังคายนาครั้งที่ ๓         
            ง.             เป็นผู้อุปถัมภ์ในการทำสังคายนาครั้งที่ ๔
๒.           การทำสังคายนาครั้งที่ ๕ ณ อาโลกเลณสถาน มลัยชนบท ประเทศศรีลังกามี
            วัตถุประสงค์แตกต่างไปจากการทำสังคายนาครั้งที่ ๑ - ๔ ด้วยเหตุผลตามข้อใด
            ก.            มีการบันทึกพระไตรปิฎกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร
            ข.            เพราะศรีลังกาไม่มีคัมภีร์ที่สามารถอธิบายอรรคกถาได้
            ค.            เพราะพระไตรปิฎกยังขาดตกบกพร่องไม่ครบถ้วนสมบูรณ์
            ง.             มีพระผู้ใหญ่ถูกถอดและถูกจับสึกเพราะศึกษาพระธรรมวินัยไม่ถูกต้อง
๓.            ผู้อุปถัมภ์ในการทำสังคายนาพระพุทธศาสนาครั้งแรกคือบุคคลใด
            ก.            พระเจ้ากาฬาโศก   ข.            พระเจ้าอชาตศัตรู 
            ค.            พระเจ้าอโศกมหาราช           ง.             พระเจ้าวัฏฏคามณีอภัย
๔.            วชิรญาณภิกขุทรงให้กำเนิดคณะสงฆ์นิกายใหม่มีชื่อเรียกว่าอะไร
            ก.            นิกายมหายาน        ข.            นิกายหินยาน        
            ค.            นิกายธรรมยุต        ง.             นิกายเถรวาท
๕.            ข้อใดเป็นผลงานสำคัญของสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส ที่ทำให้ทรงได้รับการยกย่องว่าเป็นดวงประทีปแก้วแห่งคณะสงฆ์ไทย
            ก.            ทรงปรับปรุงทำเนียบสมณศักดิ์ขึ้นใหม่            
            ข.            จัดหลักเกณฑ์ในการอุปสมบทขึ้นใหม่
            ค.            จัดการเรียนการสอนพระปริยัติธรรมขึ้นใหม่   
            ง.             ทรงสร้างความเจริญรุ่งเรืองให้แก่พระพุทธศาสนา
๖.            สมัยรัชกาลใดที่กำหนดให้วันอาสาฬหบูชาเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
            ก.            สมัยรัชกาลที่ ๖      ข.            สมัยรัชกาลที่ ๗    
            ค.            สมัยรัชกาลที่ ๘     ง.             สมัยรัชกาลที่ ๙

๗.                            “ ตั้งใจจะอุปถัมภก              ยอยกพระศาสนา
                        ป้องกันขอบขัณฑสีมา          รักษาประชาชนแลมนตรี 
            ข้อความดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงพระราชปณิธานของรัชกาลที่ ๑ มีความหมายตรงกับ
            ข้อใดมากที่สุด
            ก.            ทรงปฏิบัติตนเป็นองค์อัครศาสนูปถัมภก
            ข.            ทรงทำนุบำรุงกิจการของพระศาสนาให้เจริญรุ่งเรือง
            ค.            ทรงผนวชเป็นภิกษุสงฆ์เหมือนอาณาประชาราษฎร์
            ง.             ทรงปฏิบัติพระองค์ตามคำสอนทางพระพุทธศาสนา
๘.            หน่วยงานใดไม่ได้ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมพระพุทธศาสนา
            ก.            กระทรวงศึกษาธิการ             ข.            กระทรวงวัฒนธรรม            
            ค.            กระทรวงมหาดไทย             ง.             กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
๙.            ลักษณะนิสัยและมารยาทของคนไทยข้อใดที่มิได้มีรากฐานมาจากพระพุทธศาสนา
            ก.            ขอโทษ โปรดอภัย                ข.            ไม่อาฆาต ไม่มาดร้าย
            ค.            ไม่เป็นไร ลืมเสียเถิด             ง.             ไม่ถือโทษ ไม่โกรธเคือง
๑๐.          พระนาม สิทธัตถะ” มีความหมายตรงกับข้อใดมากที่สุด
            ก.            ผู้ประสงค์แต่สิ่งที่ดี               ข.            ผู้ประสงค์แต่กรรมที่ดี
            ค.            ผู้สำเร็จในสิ่งที่ประสงค์        ง.             ผู้สำเร็จในกิจการต่างๆ

๑๑.          ทุกรกิริยาในขั้นตอนใดที่นักเรียนคิดว่ากระทำได้ยากที่สุด
            ก.            กัดฟัน     ข.            กลั้นลมหายใจ      
            ค.            อดอาหาร               ง.             นอนบนหนามแหลม
๑๒.         ข้อใดแสดงให้เห็นว่าพระมหากัสสปะทำหน้าที่บุตรที่ดีของบิดามารดา
            ก.            พยายามศึกษาเล่าเรียน หาความรู้
            ข.            ออกเรือนตามความประสงค์ของบิดามารดา
            ค.            พยายามทำงานบ้านช่วยเหลือบิดามารดา
            ง.             พยายามปฏิบัติงานที่บิดามารดามอบหมายให้ทำ
๑๓.         รูปแบบชีวิต” ของพระมหากัสสปะในข้อใดที่นักเรียนสามารถนำมาเป็นตัวอย่างใน
            การปฏิบัติตนตามได้โดยง่าย
            ก.            ความเป็นคนเคร่งครัดในระเบียบวินัย               
            ข.            รู้จักขัดเกลาตนเองโดยการออกธุดงค์
            ค.            ความเป็นผู้มีสัจจะและดำรงชีวิตที่เรียบง่าย
            ง.             มีความขยันหมั่นเพียรอยู่เป็นนิจ ไม่ย่อท้อต่ออุปสรรค   
๑๔.         “ ไม่พึงยกย่องลัทธิศาสนาของตน และตำหนิลัทธิศาสนาของคนอื่น ” เป็นคำกล่าวของ
            ท่านใด
            ก.            พระพุทธเจ้า           ข.            พระโสณะเถระ    
            ค.            พระอุตตระเถระ   ง.             พระเจ้าอโศกมหาราช

๑๕.         จากคำกล่าวในข้อ ๑๔ แสดงให้เห็นว่าผู้กล่าวมีคุณธรรมในข้อใด
            ก.            การมีน้ำใจเอื้ออาทร              ข.            การมีใจเป็นธรรม ไม่ลำเอียง              
            ค.            การให้เสรีภาพในการนับถือศาสนา     ง.             การสนับสนุนยกย่องศาสนาต่างๆ
๑๖.          ข้อใดสอดคล้องกับพุทธศาสนสุภาษิตที่ว่า “ ความกตัญญูกตเวที  เป็นพื้นฐานของคน
            ดี 
            ก.            พยายามซื้ออาหารจากแม่ค้าที่ขายของดีมีคุณภาพ
            ข.            พยายามช่วยเหลือเกื้อกูลเพื่อนที่เคยช่วยทำการบ้าน
            ค.            พยายามช่วยเหลือบิดามารดา ครูอาจารย์ในการทำงาน
            ง.             พยายามศึกษาหาความรู้ใส่ตนเพื่อประโยชน์ในอนาคต
๑๗.         ชาดกเรื่องใดที่มุ่งสอนเรื่องความกตัญญูกตเวที
            ก.            อัมพชาดก              ข.            ติตติรชาดก           
            ค.            จตุทวารชาดก        ง.             มาตุโปสกชาดก
๑๘.         ข้อความใดตรงกับความหมายที่พระพุทธองค์ตรัสว่า “ ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา 
            ก.            หลักธรรมเป็นเครื่องค้ำจุนโลก
            ข.            หลักธรรมเป็นความจริงเสมอในปัจจุบัน
            ค.            หลักธรรมเป็นสิ่งสำคัญยิ่งในพระพุทธศาสนา
            ง.             หลักธรรมเป็นข้อกำหนดให้ปฏิบัติเพื่อความดี
๑๙.          ศาสนามีองค์ประกอบหลายประการ แต่องค์ประกอบในข้อใดที่ขาดมิได้
            ก.            ศาสดา                                     ข.            หลักธรรมคำสอน
            ค.            รูปเคารพทางศาสนา              ง.             ศาสนสถาน ศาสนวัตถุ
๒๐.         ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับคุณของกรรม
            ก.            บุญพาวาสนาส่ง                     ข.            ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน             
            ค.            ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว            ง.             คนจะชั่วจะดีอยู่ที่การกระทำ
๒๑.         การกระทำข้อใดถ้าหากนักเรียนหลงติดแล้วจะทำให้เสียการเรียนมากที่สุด
            ก.            ชอบท่องอินเทอร์เนต           ข.            เกียจคร้านการอ่านหนังสือ
            ค.            เล่นพนันบอลกับเพื่อน         ง.             โดดเรียนไปดูภาพยนตร์กับเพื่อน
๒๒.        หลักธรรมที่เป็นหนทางไปสู่ความสำเร็จตรงกับข้อใด
            ก.            ทิศ ๖                       ข.            อิทธิบาท ๔           
            ค.            สังคหวัตถุ ๔          ง.             ฆราวาสธรรม ๔
๒๓.        คำรณไม่ต้องการเป็นหนี้สินกับใคร เขาจะต้องปฏิบัติตนตามหลักธรรมใด
            ก.            ขันธ์ ๕    ข.            คิหิสุข    
            ค.            ปธาน ๔  ง.             อบายมุข ๔
๒๔.        หลักธรรมในข้อใดสอนให้แก้ปัญหาด้วยปัญญาและเหตุผล
            ก.            อริยสัจ ๔                               ข.            อิทธิบาท ๔           
            ค.            สังคหวัตถุ ๔          ง.             ฆราวาสธรรม ๔


๒๕.        ประโยชน์สูงสุดของการศึกษาเรื่องกรรมคือข้อใด
            ก.            ทำให้วิเคราะห์ผู้อื่นได้ถูกต้อง             ข.            ทำให้ไม่ประมาทในการดำเนินชีวิต
ค.            ทำให้ไม่ประสบกับความเดือดร้อน    ง.             ทำให้วิเคราะห์ตนเองได้อย่างถูกต้อง
๒๖.         ข้อใดต่อไปนี้เป็นมงคลข้อแรกในมงคล ๓๘ ประการ
            ก.            คบบัญฑิต              ข.            ไม่คบคนพาล       
            ค.            บูชาผู้ที่ควรบูชา     ง.             อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดี
๒๗.        เด็กหญิงขวัญแก้วทำคะแนนสอบวิชาวิทยาศาสตร์ได้สูงสุด โดยเปิดเผยเคล็ดลับคือการปฏิบัติสิ่งใดๆ ก็ตามต้องใช้สติปัญญาใคร่ครวญให้ดีเสียก่อนจึงลงมือปฏิบัติ แสดงว่าเด็กหญิงขวัญแก้วปฏิบัติตนตรงกับพุทธศาสนสุภาษิตข้อใด
            ก.   นิสัมมะ   กะระณัง  เสยโย             ข.   ปัญญาชีวี   ชีวีตะมาหุ   เสฏฐัง      
            ค.   ปัญญา   วะธะเนนะ   เสยโย           ง.    สันตุถตะถี   ปอระมัง   ธะนัง
๒๘.        ข้อใดไม่จัดอยู่ในอบายมุข ๔
            ก.            เป็นนักเลงหญิง                     ข.            เป็นนักเลงสุรา      
            ค.            เป็นนักเลงการพนัน              ง.             เป็นนักเที่ยวกลางคืน
๒๙.         บิดามารดาที่พูดจาไม่ไพเราะจะมีผลให้ลูกพูดจาไม่ไพเราะด้วย สอดคล้องกับข้อใด
            ก.            การคบคน              ข.            การกล้าตัดสินใจ
            ค.            การเตือนตนเอง     ง.             การคิดใคร่ครวญ
๓๐.         เด็กชายกลางถูกเพื่อนชักชวนให้ลองยาเสพติดจนติดงอมแงม สอดคล้องกับพุทธ
            ศาสนสุภาษิตในข้อใด
            ก.            ยัง   เว   เสวะติ   ตาทิโส        ข.            อัตตะนา   โจทะยัตตานัง     
            ค.            นิสัมมะ   กะระณัง   เสยโย   ง.             ทุราวาสา   ฆะรา   ทุกขา
๓๑.         การกระทำในข้อใดสอดคล้องกับพุทธศาสนสุภาษิต “ คบคนเช่นใดย่อมเป็นเช่นนั้น 
            ก.            กนกขยันซ้อมฟุตบอลเพราะอยากเล่นเก่งเหมือนเบ็คแฮม
            ข.            ปัญญามีบ้านอยู่ใกล้มหาวิทยาลัยเลยชอบทำงานวิชาการ
            ค.            สันติหันมาสนิทสนมกับสัญชัยที่มีญาติเป็นนักการเมืองดัง
            ง.             เพ็ญพรสอบได้คะแนนดีเพราะอยู่ในกลุ่มเพื่อนที่เรียนเก่ง
๓๒.        เด็กชายน้อยไม่ยอมลองสูบบุหรี่แม้จะถูกเพื่อนชักชวนหลายครั้ง แสดงว่าเด็กชายน้อยเป็นคนอย่างไร
            ก.            รู้จักเตือนตนด้วยตนเอง       ข.            รักและเชื่อฟังบิดามารดา
            ค.            เป็นคนซื่อตรงต่อตนเอง      ง.             มีความกล้าหาญและมีคุณธรรม
๓๓.        นักเรียนต้องการครูที่เป็น “ กัลยาณมิตร ” ตามข้อใดมากที่สุด
            ก.            เห็นความแตกต่างระหว่างบุคคล         ข.            สอนให้ผู้เรียนสามารถเข้าใจได้ง่าย
            ค.            มีความน่ารัก น่าเคารพ น่ายกย่อง        ง.             คอยแนะนำว่ากล่าวตักเตือนเมื่อทำผิด
๓๔.        นางสาวสมศรีประกอบอาชีพด้วยความซื่อสัตย์สุจริตโดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง
            นักเรียนคิดว่าสมศรีปฏิบัติตามหลักไตรสิกขาข้อใด
            ก.            ศีลสิกขา                 ข.            จิตตสิกขา              
            ค.            สมาธิสิกขา             ง.             ปัญญาสิกขา
๓๕.        ขันธ์ ๕ มีความสำคัญต่อมนุษย์เราอย่างไร
            ก.            ช่วยให้ร่างกายดำรงอยู่ได้    ข.            ช่วยปกป้องมิให้สังขารเสื่อม
            ค.            สร้างการรับรู้ทางประสาท   ง.             เป็นองค์ประกอบของชีวิต
๓๖.         ข้อใดจัดเป็นหน้าที่ที่สำคัญของชาวพุทธ
            ก.            หมั่นไปวัดฟังพระธรรมเทศนา            ข.            เอาใจใส่ทำนุบำรุงวัดในชนบท
            ค.            ปฏิบัติตนตามหลักธรรมทางศาสนา    ง.             มีความเลื่อมใสศรัทธาในพระเครื่อง
๓๗.        พระพุทธศาสนาสอนหลักธรรมเรื่องมิตรแท้ มิตรเทียม เพื่อวัตถุประสงค์ใดเป็น
            สำคัญ
            ก.            ใช้เตือนตนเมื่ออยู่ร่วมกับมิตรสหาย   ข.            ป้องกันตนมิให้ถูกเพื่อนเอารัดเอาเปรียบ
            ค.            รู้แนวทางปฏิบัติตนให้เป็นมิตรกับผู้อื่น             ง.             จะได้รู้จักหลักในการเลือกคบคนเป็นเพื่อน
๓๘.        ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของมิตรแท้
            ก.            มิตรพาเที่ยวเป็นนิจ                               ข.            มิตรร่วมทุกข์ร่วมสุข           
            ค.            มิตรแนะนำประโยชน์          ง.             มิตรอุปการะ มีน้ำใจ
๓๙.         ข้อใดจัดเป็นลักษณะของมิตรมีน้ำใจ
            ก.            ปุระชัยคอยตักเตือนมนัสมิให้โดดเรียนไปเที่ยว
            ข.            อัญชลีลืมกระเป๋าสตางค์ไว้ นาตยาก็ช่วยเก็บไว้ให้
            ค.            เมื่อสุดารัตน์ทุกข์ใจ ดารณีก็จะคอยปลอบใจอยู่เสมอ
            ง.             พรนภานำความรู้จากการเรียนพิเศษไปช่วยติวให้เพื่อน
๔๐.         ข้อใดไม่จัดเป็นพิธีกรรมที่เกิดจากวิถีชาวบ้าน
            ก.            พิธีงานศพ               ข.            พิธีมงคลสมรส     
            ค.            พิธีถวายกฐิน          ง.             พิธีทำบุญขึ้นบ้านใหม่
๔๑.         นักเรียนจะทำพิธีแสดงตนเป็นพุทธมามกะได้ต้องได้รับความยินยอมจากใครก่อน
            ก.            พระสงฆ์                 ข.            ผู้ปกครอง             
            ค.            ครูที่ปรึกษา            ง.             ผู้อำนวยการโรงเรียน
๔๒.        ในปัจจุบันวัดยังคงเป็นศูนย์กลางของชุมชนในด้านต่างๆ ยกเว้นข้อใด
            ก.            ด้านจิตรกรรม       ข.            ด้านวรรณกรรม   
            ค.            ด้านสถาปัตยกรรม                ง.             ด้านประติมากรรม
๔๓.        ข้อใดคือประโยชน์ที่สมศรีได้รับจากการติดตามบิดามารดาไปวัดอย่างสม่ำเสมอ
            ก.            สมศรีเป็นที่รักของบุคคลทั่วไป          ข.            สมศรีรู้จักเส้นทางคมนาคมมากขึ้น
            ค.            สมศรีรู้สึกคุ้นเคยและผูกพันกับวัด      ง.             สมศรีสอบวิชาพระพุทธศาสนาได้คะแนนดี
๔๔.        เมื่อนักเรียนใช้อวัยวะทั้ง ๕ ได้แก่ หน้าผาก ๑ มือ ๒ เข่า ๒ แสดงว่านักเรียนกำลัง
            แสดงความเคารพตามขั้นตอนอะไร
            ก.            อัญชลี     ข.            นมัสการ
            ค.            อภิวาท    ง.             วันทา



๔๕.        การฟังสวดพระอภิธรรมจัดขึ้นในงานใด
            ก.            งานศพ                    ข.            งานบวช
            ค.            งานมงคลสมรส     ง.             งานทำบุญวันเกิด
๔๖.         การปฏิบัติตนอย่างไรถือเป็นสิ่งไม่สมควรในขณะฟังพระธรรมเทศนา
            ก.            ไม่คิดฟุ้งซ่าน ทำใจให้สงบ                   ข.            ตั้งใจฟังอย่างสำรวม มีสมาธิ
            ค.            นั่งประนมมือ กล่าวรับศีลอย่างชัดเจน               ง.             คุยกับเพื่อนที่ไปร่วมงานอย่างสนุกสนาน
๔๗.        วันจาตุรงคสันนิบาตหมายถึงวันใด
            ก.            วันมาฆบูชา            ข.            วันเข้าพรรษา        
            ค.            วันออกพรรษา       ง.             วันวิสาขบูชา
๔๘.        พระพุทธเจ้าทรงแสดงหลักธรรมสำคัญเรื่องใดในวันมาฆบูชา
            ก.            อริยสัจ ๔                               ข.            โอวาทปาฏิโมกข์ 
            ค.            มัชฌิมาปฏิปทา      ง.             ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร       
๔๙.         ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร” เกี่ยวข้องกับวันในข้อใด
            ก.            วันมาฆบูชา            ข.            วันวิสาขบูชา         
            ค.            วันอัฏฐมีบูชา         ง.             วันอาสาฬหบูชา
๕๐.         วันใดที่มีพระสงฆ์เกิดขึ้นเป็นรูปแรกในพระพุทธศาสนา
            ก.            วันมาฆบูชา            ข.            วันเข้าพรรษา        
            ค.            วันวิสาขบูชา          ง.             วันอาสาฬหบูชา
๕๑.         ข้อใดไม่ใช่จุดประสงค์หลักในการจำพรรษาของพระสงฆ์
            ก.            เพื่อให้ประชาชนงดดื่มเหล้าช่วงเข้าพรรษา
            ข.            เพื่อให้ชาวบ้านนำบุตรหลานมาอุปสมบท
            ค.            เพื่อให้พระสงฆ์ได้ศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัย
            ง.             เพื่อเปิดโอกาสให้ชาวบ้านได้ทำบุญบำเพ็ญกุศล
๕๒.        วันปวารณาในทางพุทธศาสนาหมายถึงวันอะไร
            ก.            วันที่ห้ามมิให้พระสงฆ์ไปค้างแรมในที่อื่น        
            ข.            วันที่เปิดโอกาสให้พระสงฆ์ตักเตือนกันได้
            ค.            วันที่เปิดโอกาสให้พระสงฆ์ใช้ผ้าอาบน้ำผืนใหม่ได้
            ง.             วันที่เปิดโอกาสให้พุทธศาสนิกชนมีการทำบุญพิเศษ

๕๓.        ข้อใดช่วยอธิบายวันธรรมสวนะเป็นวันที่สมานสัมพันธ์ชุมชนไว้เป็นหนึ่งเดียวได้ตรง
            กับความเป็นจริงที่สุด
            ก.            กิจกรรมทุกอย่างจะนำไปจัดกันในวัด              
            ข.            ชาวบ้านจะลด ละ เลิก ทำสิ่งไม่ดี ๑ วัน
            ค.            พระสงฆ์มีโอกาสเทศนาสั่งสอนชาวบ้าน           
            ง.             ศาสนิกชนมีโอกาสไปปฏิบัติธรรมร่วมกันที่วัด


๕๔.        ข้อใดให้ความหมายของอามิสบูชาและปฏิบัติบูชาได้ถูกต้องที่สุด
            ก.            บูชาด้วยสติ   -   บูชาด้วยความสงบ    
            ข.            บูชาด้วยจิตใจ   -   บูชาด้วยการปฏิบัติ
            ค.            บูชาด้วยสิ่งของ   -   บูชาด้วยการปฏิบัติ            
            ง.             บูชาด้วยการปฏิบัติ   -   บูชาด้วยคำสอน
๕๕.        องค์ประกอบของโต๊ะหมู่บูชาแบบหมู่ ๗ ข้อใดระบุได้ถูกต้อง
            ก.            แจกัน ๔   พานดอกไม้ ๕   เชิงเทียน ๖   กระถางธูป ๑
            ข.            แจกัน ๔   พานดอกไม้ ๕   เชิงเทียน ๘   กระถางธูป ๑
            ค.            แจกัน ๖   พานดอกไม้ ๗   เชิงเทียน ๑๐   กระถางธูป ๑
            ง.             แจกัน ๘   พานดอกไม้ ๙   เชิงเทียน ๑๒   กระถางธูป ๑
๕๖.         การกล่าวคำอาราธนาศีลเป็นหน้าที่ของบุคคลใด
            ก.            เจ้าภาพ                    ข.            พระสงฆ์
            ค.            พิธีกรในศาสนพิธี  ง.             ทุกคนในงาน
๕๗.        วิธีการฝึกสมาธิแบบอานาปานสติตรงกับข้อใด
            ก.            การบริกรรมสวดภาวนา                       ข.            การเดินเวียนแบบจงกลม    
            ค.            การกำหนดลมหายใจ เข้า - ออก          ง.             การควบคุมจิตไม่ให้ฟุ้งซ่าน
๕๘.        ข้อใดไม่ใช่วิธีการฝึกสมาธิอย่างง่ายสำหรับบุคคลทั่วไป
            ก.            การกำหนดลมหายใจ พุท - โธ             ข.            การกำหนดลมหายใจ เข้า - ออก
            ค.            การกำหนดลมหายใจ หนึ่ง - สอง        ง.             การกำหนดลมหายใจ ใช่คน – ไม่ใช่คน

๕๙.         บุคคลในข้อใดปฏิบัติตนในการฝึกสมาธิได้อย่างเหมาะสม
            ก.            วิรัตน์นั่งสมาธิตลอดเวลา                     ข.            สุปราณีนั่งสมาธิก่อนนอน
            ค.            อนุชาทำงานพร้อมกับนั่งสมาธิ            ง.             สัญชัยนั่งสมาธิพร้อมกับฟังเพลง
๖๐.          การวิเคราะห์ข้อมูลจัดอยู่ในการพัฒนาปัญญาที่เรียกว่าอะไร
            ก.            สุตมยปัญญา          ข.            จินตามยปัญญา     
            ค.            ภาวนามยปัญญา    ง.             วิจารณญาณมยปัญญา
๖๑.          การพัฒนาปัญญาตามแบบใดที่ไม่สอดคล้องกับแนวทางของพระพุทธศาสนา
            ก.            สุตมยปัญญา          ข.            จิตตามยปัญญา     
            ค.            ภาวนามยปัญญา    ง.             อัปปนามยปัญญา
๖๒.         ข้อใดไม่ใช่การเจริญปัญญาแบบโยนิโสมนสิการ
            ก.            คิดแบบยึดมั่นตนเอง            ข.            คิดแบบสืบสาวเหตุปัจจัย
            ค.            คิดแบบคุณโทษและทางออก              ง.             คิดแบบคุณค่าแท้ คุณค่าเทียม             
๖๓.         บุคคลในข้อใดได้ชื่อว่าคิดแบบโยนิโสมนสิการ
            ก.            วันชัยชอบบ่นว่าน้อยใจที่เพื่อนไม่รัก               
            ข.            เอกรัตน์ชอบโวยวายเมื่อรถประจำทางจอดไม่ตรงป้าย
            ค.            วิจิตรายอมรับว่าฝึกซ้อมกีฬาน้อยไปจึงทำให้แพ้คู่แข่ง
            ง.             พรพิมลรู้สึกหัวเสียที่รถติดขณะที่ต้องรีบไปให้ทันเวลาสอบ
๖๔.         สังคมต้องการพัฒนาคนเพื่อจุดมุ่งหมายในข้อใด
            ก.            ต้องการพัฒนาคนให้เป็นคนดี             ข.            ต้องการพัฒนาคนให้เป็นคนเก่ง
            ค.            ต้องการพัฒนาคนให้มีความสามารถ   ง.             ต้องการพัฒนาคนให้เป็นทั้งคนเก่งและคนดี
๖๕.         คำกล่าวเกี่ยวกับหลักธรรมในข้อใดกล่าวไม่ถูกต้อง
            ก.            อิทธิบาท ๔ คือคุณธรรมที่ทำให้พ้นทุกข์          
            ข.            เบญจธรรมคือธรรมอันดีงาม ๕ ประการ
            ค.            เบญจศีลคือการรักษากายวาจาให้เรียบร้อย       
            ง.             พละ ๕ คือหลักธรรมที่ช่วยให้ทำงานสำเร็จ
๖๖.          ข้อใดไม่จัดอยู่ในกุลจิรัฏฐิติธรรม ๔
            ก.            ของหมดรู้จักหามาไว้           ข.            รู้จักประมาณการกินและใช้
            ค.            ของเก่ารู้จักบูรณะซ่อมแซม ง.             รู้จักเลือกคบมิตรของครอบครัว
๖๗.         ทิศเบื้องหน้าตามหลักทิศ ๖ คือบุคคลใด
            ก.            สามีภรรยา              ข.            บิดามารดา             
            ค.            มิตรสหาย               ง.             คนงานหรือลูกจ้าง
๖๘.         ข้อใดไม่ใช่คุณค่าของศาสนา
            ก.            เป็นเครื่องดับความร้อนทางใจ           
            ข.            เป็นบ่อเกิดแห่งจริยธรรมและคุณธรรม
            ค.            เป็นบ่อเกิดแห่งขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงาม            
            ง.             เป็นบ่อเกิดแห่งการรวมพลังในการทำสงครามเพื่อศาสนา
๖๙.          ในการนับถือศาสนา สามารถนับถือพร้อมกัน ๒ ศาสนาได้หรือไม่
            ก.            ได้ ขึ้นอยู่กับความสมัครใจของบุคคล              
            ข.            ไม่ได้ เพราะผิดกฎบัญญัติของกฎหมาย
            ค.            ได้ เพราะหลักของทุกศาสนาสอนคนให้เป็นคนดี            
            ง.             ไม่ได้ เพราะจะทำให้เกิดความยุ่งยากในการประกอบพิธีกรรม
๗๐.         จุดมุ่งหมายสำคัญในการศึกษาพระพุทธศาสนาคืออะไร
            ก.            ให้ทราบเรื่องราวอินเดียสมัยโบราณ  
            ข.            ชาติที่เจริญแล้วเยาวชนต้องศึกษาศาสนา
            ค.            นำหลักธรรมไปใช้ประโยชน์ในการดำรงชีวิต
            ง.             ป้องกันมิให้ถูกวัฒนธรรมภายนอกมาครอบ




เฉลยแบบทดสอบพระพุทธศาสนาม.1 
               
๑.            ข.            ๒.           ก.            ๓.            ข.            ๔.            ค.            ๕.            ง.
๖.            ง.             ๗.            ข.            ๘.            ง.             ๙.            ก.            ๑๐.          ค.
๑๑.          ค.            ๑๒.         ข.            ๑๓.         ก.            ๑๔.         ง.             ๑๕.         ค.
๑๖.          ค.            ๑๗.         ก.            ๑๘.         ค.            ๑๙.          ข.            ๒๐          ก             .
๒๑.         ข.            ๒๒.        ข.            ๒๓.        ข.            ๒๔.        ก.            ๒๕         ข
๒๖.         ข.            ๒๗.        ก.            ๒๘.        ง.             ๒๙.         ก.            ๓๐.         ก.
๓๑.         ง.             ๓๒.        ก.            ๓๓.        ค.            ๓๔.        ก.            ๓๕.        ง.
๓๖.         ค.            ๓๗.        ง.             ๓๘.        ก.            ๓๙.         ค.            ๔๐.         ค.
๔๑.         ข.            ๔๒.        ข.            ๔๓.        ค.            ๔๔.        ค.            ๔๕.        ก.
๔๖.         ง.             ๔๗.        ก.            ๔๘.        ข.            ๔๙.         ง.             ๕๐.         ง.
๕๑.         ก.            ๕๒.        ข.            ๕๓.        ง.             ๕๔.        ค.            ๕๕.        ข.
๕๖.         ค.            ๕๗.        ค.            ๕๘.        ง.             ๕๙.         ข.            ๖๐.          ข.
๖๑.          ง.             ๖๒.         ก.            ๖๓.         ค.            ๖๔.         ง.             ๖๕.         ก.
๖๖.          ง.             ๖๗.         ข.            ๖๘.         ง.             ๖๙.          ง.             ๗๐.         ค.   

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น