แบบทดสอบ ชุดที่ 2


แบบทดสอบพระพุทธศาสนา ม.1(ชุดที่ 2)
คำชี้แจง  ข้อสอบมีทั้งหมด ๗๐ ข้อ (๗๐ คะแนน)                            
ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว
๑.            จุดมุ่งหมายสำคัญที่พระสงฆ์จัดทำสังคายนาคืออะไร
            ก.            วางรากฐานพระพุทธศาสนา                 ข.            ชำระพระไตรปิฎกให้ถูกต้อง
            ค.            ทบทวนพระธรรมวินัยฉบับใหม่        ง.             ตรวจสอบวัตรปฏิบัติของพระสงฆ์
๒.           การสังคายนาพระธรรมวินัยเท่าที่ผ่านมา ส่วนใหญ่ใครเป็นผู้อุปถัมภ์
            ก.            กลุ่มชาวพุทธ         ข.            พระภิกษุสงฆ์
            ค.            พระมหากษัตริย์    ง.             บุคคลที่มีฐานะดี
๓.            ผู้ใดเป็นประมุขฝ่ายสงฆ์ในการทำสังคายนาครั้งที่ ๑
            ก.            พระอานนท์           ข.            พระอุบาลี
            ค.            พระมหากัสสปะ    ง.             พระโมคคัลลีบุตรติสสะ
๔.            พระธรรมทูตรูปใดที่เดินทางมาเผยแผ่พระพุทธศาสนายังดินแดนสุวรรณภูมิ
            ก.            พระโสณเถระและพระอุตตรเถระ     
            ข.            พระรักขิตเถระและพระมหาเทวเถระ
            ค.            พระมหินทระเถระและพระมัชฌิมเถระ            
            ง.             พระมหาเถระและพระมหาธรรมรักขิตเถระ
๕.            ธรรมจักรกับกวางหมอบเป็นสัญลักษณ์ทางพระพุทธศาสนาที่หมายถึงเหตุการณ์ใด
            ก.            เจ้าชายสิทธัตถะเสด็จออกผนวช          ข.            ปัญจวัคคีย์ยอมรับใช้พระสิทธัตถะ
            ค.            นางสุชาดาถวายข้าวมธุปายาส              ง.             พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนา
๖.            อาณาจักรใดในดินแดนสุวรรณภูมิที่มีการนับถือนิกายทางพระพุทธศาสนาแตกต่างไป
            จากอาณาจักรอื่น
            ก.            พุกาม      ข.            ทวารวดี
            ค.            ศรีวิชัย    ง.             หริภุญไชย
๗.            ไตรภูมิพระร่วง” คืออะไร
            ก.            วรรณคดีทางพระพุทธศาสนา              ข.            ชาดกทางพระพุทธศาสนา
            ค.            เรื่องราวการสร้างพระร่วงสุโขทัย       ง.             ศิลปกรรมทางพระพุทธศาสนา
๘.            พระพุทธศาสนานิกายอุบาลีวงศ์เกิดขึ้นจากสาเหตุใด
            ก.            พระอุบาลีเถระเป็นผู้ก่อตั้งนิกายใหม่ในไทย
            ข.            เป็นนิกายที่พระสงฆ์ไทยและลังการ่วมกันตั้งขึ้น             
            ค.            นิกายใหม่ที่ลังกาเอาไปจากอาณาจักรอยุธยา    
            ง.             พระสงฆ์ไทยไปช่วยวางรากฐานพระพุทธศาสนาในลังกา
๙.            แบบอย่างนิกายใดทางพระพุทธศาสนาที่ไทยรับเอามาเป็นศาสนาประจำชาติจนถึง
            ปัจจุบัน
            ก.            ยุคเถรวาทแบบพุกาม                            ข.            ยุคเถรวาทแบบลังกาวงศ์
            ค.            ยุคมหายานแบบอาณาจักรศรีวิชัย        ง.             ยุคเถรวาทสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช
๑๐.          รัชสมัยใดที่มีการสร้างพระไตรปิฎกฉบับหลวงที่เรียกว่า ฉบับทองใหญ่
            ก.            สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช            
            ข.            พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
            ค.            พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
            ง.             พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
๑๑.          พระไตรปิฎกที่จัดพิมพ์ขึ้นในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน
            ทรงเจริญพระชนมายุ ๖๐ พรรษาใน พ.ศ. ๒๕๓๐ มีชื่อเรียกว่าอะไร
            ก.            พระไตรปิฎกฉบับหลวง                      ข.            พระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ
            ค.            พระไตรปิฎกฉบับราชบัณฑิต             ง.             พระไตรปิฎกฉบับสังคายนา
๑๒.         ข้อใดแสดงความหมายของพุทธประวัติได้ถูกต้อง
            ก.            ตำนานชีวิตของพระพุทธเจ้าก่อนผนวช
            ข.            ประวัติชีวิตและการทำงานของพระพุทธเจ้า
            ค.            ประวัติบุคคลในครอบครัวของพระพุทธเจ้า
            ง.             ประวัติและการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระพุทธเจ้า
๑๓.         อะไรคือเหตุผลสำคัญที่สุดที่ทำให้เจ้าชายสิทธัตถะตัดสินใจเสด็จออกผนวช
            ก.            บำเพ็ญเพียรเพื่อค้นหาความจริงของชีวิต
            ข.            ค้นหาหลักธรรมเพื่ออยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข
            ค.            เพื่อตอบแทนพระคุณบิดามารดา ครูอาจารย์
            ง.             ทอดพระเนตรเห็นคนแก่ คนป่วย คนตาย และสมณะ
๑๔.         พระภิกษุรูปแรกในพระพุทธศาสนาคือบุคคลใด
            ก.            วัปปะ                     ข.            อัสสชิ
            ค.            มหานามะ               ง.             โกณฑัญญะ
๑๕.         ข้อความใดตรงกับคำกล่าวที่ว่า “ การเห็นด้วยตาเนื้อ ไม่ได้เห็นด้วยตาในคือปัญญา 
            ก.            เห็นเพียงแต่เห็น ไม่ได้คิดตามสิ่งที่เห็น              
            ข.            เห็นเพียงแต่เห็น แต่ไม่ได้สนใจสิ่งที่เห็น           
            ค.            เห็นเพียงแต่เห็น ไม่ได้พิจารณาให้รู้ความจริง
            ง.             เห็นเพียงแต่เห็น แต่ไม่ได้เข้าใจในสิ่งที่เห็น      
๑๖.          หน้าที่ของทายกตัวอย่างคือข้อใด
            ก.            ชักชวนชาวบ้านให้ทำบุญกุศล            
            ข.            ดูแลช่วยเหลือพระสงฆ์วันละ ๒ เวลา
            ค.            ไปร่วมทำบุญกับผู้ทำบุญให้ทานอยู่เสมอ          
            ง.             แนะนำและจัดการให้ผู้อื่นทำบุญให้ถูกต้อง
๑๗.         คุณธรรมข้อใดของอนาถบิณฑิกเศรษฐี ที่นักเรียนควรถือเป็นแบบอย่างมากที่สุด
            ก.            ชอบแจกจ่ายทานแก่คนยากจน            ข.            ชักชวนชาวบ้านให้ไปทำบุญที่วัด
            ค.            สร้างวัดเพื่อถวายเป็นพุทธบูชา            ง.             มีศรัทธาแน่วแน่ในพระพุทธศาสนา


๑๘.         นางวิสาขากล่าวแก่พระภิกษุรูปหนึ่งว่า “ ขอนิมนต์โปรดข้างหน้าเถอะเจ้าค่ะ คุณพ่อ
            ของดิฉันกำลังกินของเก่าอยู่ ” มีความหมายตรงกับข้อใดมากที่สุด
            ก.            กำลังรับประทานอาหารอยู่ ไม่ว่างที่จะต้อนรับ
            ข.            อาศัยกินบุญเก่าไปวันๆ ไม่ได้สร้างบุญใหม่เพิ่ม
            ค.            อาศัยกินบุญเก่าอยู่ เมื่อหมดแล้วจะสร้างบุญใหม่
            ง.             กำลังรับประทานอาหารเก่าอยู่ ยังไม่ว่างพอจะสนทนาได้
๑๙.          การกระทำของนางวิสาขาในข้อใดที่ได้กลายมาเป็นประเพณีจนถึงปัจจุบัน
            ก.            สร้างโรงพยาบาลสงฆ์           ข.            ทำบุญตักบาตรดอกไม้
            ค.            ซื้อที่ดินมาสร้างวัด                ง.             ถวายผ้าอาบน้ำฝนแก่ภิกษุ
๒๐.         ผู้ใดนำคุณธรรมที่ได้จากการศึกษาอัมพชาดกไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
            ก.            เอมอรตั้งใจศึกษาเล่าเรียนจนสำเร็จการศึกษา    
            ข.            กชวรรณพยายามเก็บเงินค่าขนมไว้ซื้อโทรศัพท์มือถือ
            ค.            สุชาติเห็นผู้หญิงท้องขึ้นรถเมล์ จึงลุกให้นั่งด้วยความรู้สึกสงสาร
            ง.             อมรรัตน์ไปเฝ้าแม่ซึ่งป่วยหนักที่โรงพยาบาลทุกวันหลังเลิกเรียน
๒๑.         ติตติรชาดกให้แง่คิดที่เป็นประโยชน์ในเรื่องใด
            ก.            ความอดทน           ข.            ความมีเหตุผล
            ค.            การเคารพผู้อาวุโส ง.             การยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
๒๒.        รัตนาเสียใจมากที่สอบวิชาพระพุทธศาสนาไม่ผ่าน ความเสียใจของรัตนาจัดอยู่ใน
            อริยสัจข้อใด
            ก.            ทุกข์        ข.            สมุทัย
            ค.            นิโรธ      ง.             มรรค
๒๓.        เมื่อนักเรียนประสบกับความทุกข์ใจ ควรปฏิบัติสิ่งใดก่อนเป็นอันดับแรก
            ก.            ค้นหาสาเหตุ                           ข.            นั่งเครียดอยู่คนเดียว
            ค.            คิดหาวิธีการดับทุกข์             ง.             พยายามไม่คิดถึงความทุกข์
๒๔.        ข้อความว่า “ เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนั้นจึงมี เพราะสิ่งนี้เกิด สิ่งนั้นจึงเกิด ” หมายความว่า
            อย่างไร
            ก.            ทุกสิ่งในโลกล้วนมีความเกี่ยวพันกัน ข.            เมื่อมีเกิดย่อมมีดับเป็นธรรมดา
            ค.            โลกเป็นอนิจจัง มีความไม่เที่ยงตรง    ง.             การเกิดขึ้นของสิ่งทั้งหลายย่อมมีสาเหตุ
๒๕.        “ ผมเกิดมาจน เครียด กินเหล้า ผมอยากตาย ” แสดงว่าผู้พูดตกอยู่ในสภาวะใด
            ก.กามตัณหา           ข.            ภวตัณหา
ค.วิภวตัณหา          ง.             โลภตัณหา
๒๖.         ความอยากที่เกินพอดี ในทางพระพุทธศาสนาเรียกว่าอะไร
            ก.            กิเลส       ข.            ตัณหา
            ค.            เวทนา     ง.             อบายมุข



๒๗.        อบายมุขมีความหมายตรงกับข้อใด
            ก.   หนทางแห่งความเจริญ   ข.   หนทางแห่งความตาย
            ค.   หนทางแห่งความเสื่อม   ง.    หนทางแห่งความเดือดร้อน
๒๘.        อบายมุข ๖ ข้อใดที่มีผลกระทบต่อนักเรียนมากที่สุด
            ก.            เป็นนักเรียนนักเลง                               ข.            คบคนชั่วเป็นมิตร
            ค.            เกียจคร้านในการทำงาน       ง.             ชอบเที่ยวเตร่ตามศูนย์การค้า
๒๙.         บุคคลทั่วไปควรมีคิหิสุขอันได้แก่อะไร
            ก.            ได้รับการยกย่องสรรเสริญ                  ข.            ปราศจากโรคภัยเบียดเบียน
            ค.            ประสบความสำเร็จในการงาน             ง.             มีทรัพย์ใช้จ่าย ไร้หนี้สิน
๓๐.         ข้อใดต่อไปนี้ไม่จัดอยู่ในไตรสิกขา
            ก.            ศีลสิกขา                 ข.            ทานสิกขา
            ค.            จิตตสิกขา               ง.             ปัญญาสิกขา
๓๑.         การปฏิบัติตนเช่นใดเป็นสิ่งที่นักเรียนควรกระทำมากที่สุด
            ก.            พยายามคบคนให้มาก           ข.            บูชาบุคคลที่เราคบด้วย
            ค.            คบคนดี เป็นผู้มีความรู้         ง.             อยู่คนเดียว ไม่คบกับใคร
๓๒.        พุทธศาสนสุภาษิตที่ว่า อัตตะนา โจทะยะตานัง” มีความหมายอย่างไร
            ก.            จงเตือนตนด้วยตนเอง          ข.            ผู้ประพฤติดีย่อมฝึกตน
            ค.            ชนะตนนั้นแหละเป็นคนดี   ง.             ตนที่ฝึกดีแล้วเป็นแสงสว่างของบุรุษ
๓๓.        สำนวนในข้อใดที่มีความหมายสัมพันธ์กับพุทธศาสนสุภาษิตว่า นิสัมมะ กะระณัง 
            เสยโย
            ก.            น้ำพึ่งเรือเสือพึ่งป่า                                ข.            แพ้เป็นพระชนะเป็นมาร
            ค.            ช้าช้าได้พร้าเล่มงาม               ง.             ข่มเขาโคขืนให้กินหญ้า
๓๔.        พ่อแม่ที่ดีควรประพฤติปฏิบัติตนอย่างไร
            ก.            เข้มงวดกวดขันกับลูก         
            ข.            มีความยุติธรรม ไม่ลำเอียง
            ค.            มีระเบียบวินัยต่อตนเองอย่างเคร่งครัด              
            ง.             ให้ลูกมีอิสระในการตัดสินใจและแสดงความคิดเห็น
๓๕.        พระไตรปิฎกเล่มใดที่เก็บรวบรวมพระธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้า
            ก.            พระวินัยปิฎก        ข.            พระธรรมปิฎก
            ค.            พระอภิธรรมปิฎก ง.             พระสุตตันตปิฎก
๓๖.         ข้อใดไม่ใช่เรื่องน่ารู้ที่เราจะศึกษาได้จากพระไตรปิฎก
            ก.            บุคคลทุกคนล้วนต้องตาย    ข.            ความพลัดพรากทำให้เกิดทุกข์
            ค.            วิธีทำมาหากินให้ร่ำรวย        ง.             เกิดแก่เจ็บตายเป็นธรรมดาโลก
๓๗.        ทุกข้อเป็นหน้าที่ที่ชาวพุทธพึงปฏิบัติยกเว้นข้อใด
            ก.            เรี่ยไรจตุปัจจัยนำไปถวายวัด                               ข.            ทำนุบำรุงพระภิกษุสงฆ์
            ค.            ปฏิบัติตนตามหลักพุทธธรรม              ง.             ไม่โจมตีหรือให้ร้ายศาสนาอื่น
๓๘.        วุฒิชัยหมั่นไปเยี่ยมณรงค์ที่โรงพยาบาลอยู่เสมอ แสดงว่าการกระทำของวุฒิชัยตรง
            กับข้อใด
            ก.            เป็นที่พึ่งได้            ข.            เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่
            ค.            เมตตากรุณา           ง.             ไม่ทิ้งเพื่อนยามทุกข์ยาก
๓๙.         ข้อใดเป็นลักษณะของมิตรปอกลอก
            ก.            หวังให้เพื่อนรักตนเอง                          ข.            หวังพึ่งเพื่อนเพื่อประโยชน์ของตน
            ค.            หวังให้เพื่อนช่วยเหลือเกื้อกูลตน        ง.             หวังให้เพื่อนเป็นเพื่อนของตนคนเดียว
๔๐.         มิตรในลักษณะใดที่เราจะต้องพยายามหลีกหนีไม่คบหาสมาคมด้วย
            ก.            ชอบพูดเรื่องที่ยังมาไม่ถึง    
            ข.            ชักชวนไปเที่ยวกลางคืน
            ค.            เพื่อนขอความช่วยเหลือก็อ้างเหตุขัดข้อง          
            ง.             สงเคราะห์ด้วยสิ่งที่ไร้ประโยชน์
๔๑.         การเข้าค่ายพุทธบุตรมีวัตถุประสงค์เพื่ออะไร
            ก.            สอนหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา   
            ข.            สร้างความสามัคคีระหว่างผู้ร่วมค่าย   
            ค.            ฝึกทักษะการคิดตามหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา
            ง.             ให้เยาวชนได้รับประสบการณ์ตรงในการฝึกและพัฒนาตน
๔๒.        ข้อใดเป็นพิธีกรรมที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติขึ้นมา
            ก.            พิธีเข้าพรรษา         ข.            พิธีมงคลสมรส
            ค.            พิธีทำบุญต่ออายุ    ง.             พิธีทำบุญขึ้นบ้านใหม่
๔๓.        การเข้าร่วมพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนาควรเป็นไปตามข้อใด
            ก.            เห็นคนอื่นเขาทำเราควรทำด้วย           ข.            ทำตามใจตนเองไม่ควรเชื่อฟังใคร
            ค.            มีจิตใจบริสุทธิ์ทำด้วยความสมัครใจ   ง.             พยายามแข่งขันทำให้ดีกว่าคนอื่น
๔๔.        พิธีแสดงตนเป็นพุทธมามกะหมายความว่าอย่างไร
            ก.            พิธีที่คนในท้องถิ่นบัญญัติให้ต้องปฏิบัติ           
            ข.            พิธีที่พระสงฆ์กำหนดให้ชาวบ้านปฏิบัติตาม
            ค.            พิธีประกาศตนยอมรับนับถือพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
            ง.             พิธีที่พระสงฆ์จัดขึ้นเพื่อปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมให้แก่เยาวชน
๔๕.        การแสดงตนเป็นพุทธมามกะสามารถกระทำซ้ำได้หรือไม่
            ก.            ไม่ได้ เพราะผิดระเบียบพุทธบัญญัติ  
            ข.            ได้ เพราะเป็นความสมัครใจของแต่ละบุคคล
            ค.            ได้ เพราะเป็นการเสริมสร้างศรัทธาให้มั่นคงยิ่งขึ้น
            ง.             ไม่ได้ เพราะจะเกิดความสับสนในการปกครอง
๔๖.         ข้อใดจับคู่กันได้ถูกต้อง
            ก.            อัญชลี  -  ไหว้        ข.            นมัสการ  -  ประนมมือ        
            ค.            อภิวาท  -  กราบ     ง.             วันทา  -  เบญจางคประดิษฐ์
๔๗.        ในการฟังพระธรรมเทศนาจะต้องปฏิบัติอะไรก่อนเป็นอันดับแรก
            ก.            ถวายเครื่องไทยธรรม           ข.            รับศีลและกล่าวอาราธนาธรรม
            ค.            ประนมมือฟังพระธรรมเทศนา            ง.             ตั้งใจส่งกระแสจิตไปตามบทสวดมนต์
๔๘.        การฟังเจริญพระพุทธมนต์เพื่อจุดมุ่งหมายใดเป็นสำคัญ
            ก.            สร้างความเป็นสิริมงคล        ข.            รำลึกถึงพระพุทธเจ้า
            ค.            รำลึกถึงคุณพระรัตนตรัย     ง.             ชี้แนะสิ่งที่ชาวพุทธควรรู้
๔๙.         ในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ชาวพุทธที่ดีควรปฏิบัติตนตามข้อใด
            ก.            ไปเที่ยวพักผ่อนที่ต่างจังหวัด               ข.            นั่งสมาธิตามลำพังภายในบ้าน
            ค.            ไปสนทนาธรรมกับพระสงฆ์ที่สนิท   ง.             ร่วมทำบุญตักบาตรและไปเวียนเทียนที่วัด
๕๐.         องค์ประกอบที่เรียกว่า จาตุรงคสันนิบาต” มีความสัมพันธ์กับวันสำคัญทาง
            พระพุทธศาสนาวันใด
            ก.            วันมาฆบูชา            ข.            วันวิสาขบูชา
            ค.            วันอัฏฐมีบูชา         ง.             วันอาสาฬหบูชา
๕๑.         ข้อใดไม่เกี่ยวข้องกับหลักคำสอนในโอวาทปาฏิโมกข์
            ก.            คนทำร้ายคนอื่นไม่ใช่บรรพชิต         
            ข.            คนเบียดเบียนคนอื่นไม่ใช่สมณะ
            ค.            การรู้จักประมาณตนและบำเพ็ญสมาธิ               
            ง.             การรู้จักข้อปฏิบัติและกระทำกิจของสงฆ์
๕๒.        การประกอบพิธีเวียนเทียนในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาควรปฏิบัติตนตามข้อใด
            ก.            เดินภายในพระอุโบสถ ๓ รอบ
            ข.            เดินเวียนขวารอบพระอุโบสถ ๓ รอบ
            ค.            เดินเวียนซ้ายรอบพระอุโบสถ ๓ รอบ
            ง.             เดินบริเวณหน้าพระอุโบสถกลับไปกลับมา ๓ รอบ
๕๓.        องค์การสหประชาชาติกำหนดให้วันในข้อใดเป็นวันสำคัญในกรอบขององค์การ
            สหประชาชาติ
            ก.            วันมาฆบูชา            ข.            วันเข้าพรรษา
            ค.            วันอาสาฬหบูชา     ง.             วันวิสาขบูชา
๕๔.        พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมะใดในวันอาสาฬหบูชา
            ก.            อนันตลักขณสูตร  ข.            โอวาทปาฏิโมกข์
            ค.            จาตุรงคสันนิบาต  ง.             ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร
๕๕.        กิจกรรมใดปฏิบัติเฉพาะในวันเข้าพรรษา
            ก.            ฟังธรรม                 ข.            รักษาศีล
            ค.            ทำบุญตักบาตร      ง.             ถวายผ้าอาบน้ำฝน
๕๖.         ตักบาตรเทโวเป็นประเพณีที่จัดขึ้นในวันใด
            ก.            วันวิสาขบูชา          ข.            วันเข้าพรรษา        
            ค.            วันออกพรรษา       ง.             วันอาสาฬหบูชา
๕๗.        จุดมุ่งหมายที่เชิญชวนชาวพุทธเข้าร่วมพิธีกรรมเนื่องในวันสำคัญทางศาสนาคืออะไร
            ก.            ชำระขัดเกลาจิตใจให้บริสุทธิ์                              ข.            หาปัจจัยไปทำนุบำรุงวัดวาอาราม
            ค.            ชาวพุทธจะได้ทำความรู้จักกัน            ง.             ช่วยลดปัญหาต่างๆ ของสังคมไทย
๕๘.        การเริ่มต้นประกอบพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนาจะต้องกระทำสิ่งใดก่อนเป็นขั้นตอน
            แรก
            ก.            การจุดธูปเทียน      ข.            การอาราธนาศีล
            ค.            การอาราธนาธรรม                ง.             การกล่าวคำบูชาพระรัตนตรัย
๕๙.         เหตุผลสำคัญในงานพิธีต้องมีการจุดธูปเทียนคืออะไร
            ก.            บูชาพระรัตนตรัย  ข.            บอกให้รู้ว่าพิธีเริ่มแล้ว
            ค.            แสดงความเคารพพระสงฆ์   ง.             สร้างความเป็นมงคลแก่งาน
๖๐.          “ พรหมา จะโลกาธิปะตี สะหัมปะติ ……. ” เป็นคำกล่าวเพื่อนิมนต์พระสงฆ์ให้กระทำ
            การในข้อใด
            ก.            สมาทานศีล                            ข.            อาราธนาธรรม
            ค.            อาราธนาพระปริตร                               ง.             กรวดน้ำอุทิศส่วนกุศล
๖๑.          จุดมุ่งหมายของการอาราธนาธรรมเพื่อต้องการให้พระสงฆ์กระทำสิ่งใด
            ก.            ประพรมน้ำมนต์แก่ผู้ร่วมงาน              ข.            บอกข้อห้ามที่ชาวพุทธควรละเว้น
            ค.            ชี้แนะแนวทางการทำความดี                                ง.             สวดมนต์เพื่อความเป็นสิริมงคล
๖๒.         ข้อใดตรงกับพุทธวจนะที่ว่า “ จิตที่มีสมาธิ ย่อมจะเกื้อกูลแก่การเจริญเติบโตแห่ง
            ปัญญาเป็นอย่างดี ” มากที่สุด
            ก.            สมาธิเป็นอาหารของจิตใจ   
            ข.            สมาธิทำให้เป็นผู้มีคุณธรรม
            ค.            สมาธิทำให้มีความตั้งใจในการทำงาน
            ง.             สมาธิทำให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ และเกิดปัญญา
๖๓.         เมื่อนักเรียนหมั่นฝึกสมาธิอยู่เป็นประจำจะมีบุคลิกภาพอย่างไร
            ก.            ท่าทางองอาจ ไม่เกรงกลัวผู้ใด             ข.            มองอะไรทะลุปรุโปร่ง รู้อนาคต
            ค.            มีความสุภาพ นุ่มนวล เยือกเย็น           ง.             เคร่งขรึม ไม่ชอบคบหาสมาคมกับใคร
๖๔.         ในการฝึกสมาธิผู้ฝึกจะต้องเตรียมการดังต่อไปนี้ยกเว้นข้อใด
            ก.            การเลือกอุปกรณ์  ข.            การสมาทานศีล
            ค.            การกำหนดเวลา     ง.             การนมัสการพระรัตนตรัย
๖๕.         ท่านั่งในการฝึกสมาธิที่ดีคือข้อใด
            ก.            นั่งขัดสมาธิ            ข.            นั่งพับเพียบ
            ค.            นั่งบนพื้นที่ยกสูง  ง.             นั่งบนเก้าอี้หรือม้านั่ง

๖๖.          เพราะเหตุใดการฝึกสมาธิในระยะแรกๆ จึงปฏิบัติได้ยากที่สุด
            ก.            จิตใจยังฟุ้งซ่าน                                      ข             .ลมหายใจยังไม่นิ่ง
            ค.            อดทนต่อการนั่งนานๆ ไม่ได้                              ง.             ความพยายามยังมีไม่มากพอ

๖๗.         การฟังการบรรยายจัดเป็นการพัฒนาปัญญาตามข้อใด
            ก.            สุตมยปัญญา          ข.            จินตามยปัญญา
            ค.            ภาวนามยปัญญา    ง.             วิจารณญาณมยปัญญา
๖๘.         หลักการคิดแบบคุณค่าแท้ คุณค่าเทียม เราสามารถจะพิจารณาได้ว่า คุณค่าแท้ของ
            โทรศัพท์มือถืออยู่ที่อะไร
            ก.            บ่งบอกความมีฐานะ                             ข.            แสดงถึงการมีงานรัดตัว
            ค.            ประโยชน์เพื่อการติดต่อสื่อสาร          ง.             การตามทันเทคโนโลยีสมัยใหม่
๖๙.          เบญจศีล เบญจธรรมเป็นหลักธรรมที่พัฒนามนุษย์ให้เป็นคนประเภทใด
            ก.            คนดี                        ข.            คนเก่ง
            ค.            คนร่ำรวย                               ง.             คนมัธยัสถ์
๗๐.         เหตุผลที่เราควรนำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนามาใช้ในการพัฒนาเศรษฐกิจ
            เนื่องจากเหตุผลใด
            ก.            สอดคล้องกับสภาพสังคมไทย             ข.            ต่างชาติมีจำนวนเงินทุนมากกว่า
            ค.            คนไทยติดนิสัยชอบฟุ้งเฟ้อ                 ง.             ดุลการชำระเงินของไทยขาดดุล





                                        เฉลยแบบทดสอบพระพุทธศาสนาชั้นม.1(ชุดที่ 2)
คำชี้แจง  ข้อสอบมีทั้งหมด ๗๐ ข้อ (๗๐ คะแนน)                            
                ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว
๑.            ข.            ๒.           ค.            ๓.            ค.            ๔.            ก.            ๕.            ง.
๖.            ค.            ๗.            ก.            ๘.            ง.             ๙.            ข.            ๑๐.          ข.
๑๑.          ง.             ๑๒.         ข.            ๑๓.         ง.             ๑๔.         ง.             ๑๕.         ค.
๑๖.          ง.             ๑๗.         ง.             ๑๘.         ข.            ๑๙.          ง.             ๒๐.         ง.
๒๑.         ค.            ๒๒.        ก.            ๒๓.        ก.            ๒๔.        ง.             ๒๕.        ค.
๒๖.         ข.            ๒๗.        ค.            ๒๘.        ข.            ๒๙.         ง.             ๓๐.         ข.
๓๑.         ค.            ๓๒.        ก.            ๓๓.        ค.            ๓๔.        ข.            ๓๕.        ง.
๓๖.         ค.            ๓๗.        ก.            ๓๘.        ง.             ๓๙.         ข.            ๔๐.         ข.
๔๑.         ง.             ๔๒.        ก.            ๔๓.        ค.            ๔๔.        ค.            ๔๕.        ค.
๔๖.         ค.            ๔๗.        ข.            ๔๘.        ข.            ๔๙.         ง.             ๕๐.         ก.
๕๑.         ง.             ๕๒.        ข.            ๕๓.        ง.             ๕๔.        ง.             ๕๕.        ง.
๕๖.         ค.            ๕๗.        ก.            ๕๘.        ก.            ๕๙.         ก.            ๖๐.          ข.
๖๑.          ค.            ๖๒.         ง.             ๖๓.         ค.            ๖๔.         ก.            ๖๕.         ก.
๖๖.          ก.            ๖๗.         ก.            ๖๘.         ค.            ๖๙.          ง.             ๗๐.         ก.      

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น